ในปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวัน หลายๆท่านที่กำลังเรียน หรือทำงาน ต้องจดจ่อกับหน้าจออิเลคโทนิค การอ่านหนังสือ ขับรถ หรือแม้แต่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน เรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลย นั่นก็คือ อาการตาล้า ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งท่านอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเพ่งมองอยู่
อาการตาล้า อาจเนื่องมาจากการเพ่งมองมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นระยะใกล้หรือระยะไกล กล้ามเนื้อตาอาจเกิดการทำงานหนัก ภาพหรือวัตถุจะหลุดโฟกัสไป และในบางครั้งเกิดอาการเกร็ง ทำให้กล้ามเนื้อค้าง เมื่อมีอาการแบบนี้ หากได้พักสายตาก็จะสามารถหายได้เอง บางครั้งหลังจากการเพ่งนานๆก็อาจมีอาการเมื่อนตา ปวดตา เคืองตา ตาแห้ง หรือปวดหัวร่วมด้วย
ในภาวะปกติตาคนเราที่มองวัตถุได้ชัดทั้งไกล และใกล้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้ ทำให้แก้วตาเพิ่มกำลังการหักเหของแสงอันจะทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ไปโฟกั ที่จอตาได้ ซึ่งเวลามองไกลกล้ามเนื้อจะคลายตัว แต่เวลามองใกล้จะหดตัวเกร็งตัว เพื่อเพิ่มกำลังของแก้วตา เกิดภาวะสายตาสั้นที่ทำให้มองใกล้ได้ชัดเจน
ผู้ใดที่จ้องมองใกล้อยู่นาน ๆ กล้ามเนื้อนี้จะทำงานอยู่นานกว่าปกติ จึงเกิดภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เมื่อมองไกลจึงยังอยู่ในภาวะสายตาสั้น ทำให้มองภาพไกลไม่ชัด ซึ่งมักเป็นอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ถ้ากล้ามเนื้อนี้คลายตัว สายตาก็จะกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้นภาวะนี้จึงถือว่าเป็น "สายตาสั้นเทียม" (Pseudomyopia) หรือ สายตาสั้นชั่วคราว
ซึ่งแพทย์หลาย ๆ ท่านมีความเห็นว่าในบางคนอาจจะกลายจากสายตาสั้นเทียมหรือสั้นชั่วคราวกลายเป็นสายตาสั้นจริง
และอาจทำให้กลายเป็นสายตาสั้นตลอดก็ได้
(อ. นพ.กวิน วณิเกียรติ, 2559)
ควรมีการพักสายตาเป็นระยะ เมื่อต้องใช้สายตาระยะใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งนั้นคลายตัวลง อาจจะเลือกใช้สูตร 20/20/20 คือ ใช้สายตาเพ่ง 20 วินาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรือ อาจจะพักสายตา 1 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง หรือใช้สายตา 1 ชั่วโมง แล้วพักสายตา 5-10 นาทีก็ได้เพื่อไม่ให้เกิดการเพ่งค้าง
ไม่ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรืออ่านหนังสือที่มีตัวขนาดเล็กมากเกินไปเพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเพ่งมากขึ้นได้
การตรวจสุขภาพสายตาประจำปีกับผู้เชี่ยวชาญด้านสายตากับจักษุแพทย์ หรือ นักทัศนมาตร เพื่อเช็คสายตาว่าอาการเพ่งตา ล้าตา นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร หรือจากค่าสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป
ในบางท่านอาจต้องใช้แว่นสายตามองใกล้ (เลนส์บวก) เวลาทำงานใกล้ หรือเลนส์ลดการเพ่ง เช่น Essilor รุ่น Eyezen
Hoya รุ่น SYNC เป็นต้น เลนส์กลุ่มนี้จะช่วยให้การเพ่งลดน้อยลง โดยมีค่าสายตาบวกใช้ในการมองใกล้
การที่เราฝืนเพ่งมองสิ่งๆหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลรุนแรงถึงชีวิต แต่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น ตาล้า เมื่อยตา ปวดดวงตา ปวดหัว และถ้าหากเราละเลยในระยะเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดเป็นโรคสายตาสั้นเทียม และส่งผลต่อค่าสายตาที่เปลี่ยนไป สายตาสั้นขึ้น หรือสายตายาวเพิ่มขึ้น
ฉะนั้น ควรมีการพักสายตาออกจากสิ่งที่กำลังจดจ่อ โดยมองออกไปพื้นที่รอบๆ หรือใช้สูตร 20 : 20 : 20 หรือท่านไม่แน่ใจว่าเป็นเพียงการเพ่งมองปกติ หรือการเพ่งมองโดยจากค่าสายตา ให้ท่านลองรับการตรวจเช็คสายตากับจักษุแพทย์ หรือ นักทัศนมาตร เพื่อการป้องกันการเกิดค่าสายตาที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อเป็นการรักษาก่อนที่จะสายเกินแก้
#Review by Muller Optik
เลนส์ 𝗘𝘆𝗲𝘇𝗲𝗻 ที่ช่วยให้ดวงตารู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการเมื่อยล้าตา จาก 𝐄𝐬𝐬𝐢𝐥𝐨𝐫 คู่กับกรอบแบรนด์ 𝗖𝗔𝗥𝗩𝗘𝗡 รุ่น 𝗕𝗼𝗼𝘀𝘁𝗲𝗿
ใช้วัสดุ titanium ที่น้ำหนักเบาและยืดหยุ่นสูง
✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨
ปรึกษา และตรวจวัดสายตากับนักทัศนมาตรโดยไม่มีค่าบริการได้ที่ มุลเลอร์ ออพติก
สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ และสาขาห้างโฮมโปรสันทรายค่ะ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น.
สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล หรือ Tell : 063-114-6333