• Home
  • Lens&knowledge
  • ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔
ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

05 ส.ค. 2566   ผู้เข้าชม 264

ในกระบวนการตรวจวัดสายตานั้น จุดสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าสายตา นั้นคือ ... การตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อยหรือในห้องมืด

 

แล้วทำไมจึงต้องตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยกันล่ะ ??

 

👀 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอวัยวะดวงตาเบื้องต้นก่อน 👀

ดวงตาของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม ที่มีเปลือกตาและลูกตาขาวและลูกตาดำ ภายในลูกตาดำนั้นจะเป็นส่วนของม่านตา (iris) และมีรูม่านตา (pupil) ขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง ขนาดประมาณ 2-5 mm. 



รูม่านตา (pupil)  ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงเข้าสู่ดวงตาของเรา 

ม่านตา (iris) มีส่วนทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวของรูม่านตา เนื่องจากม่านตามีกล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม กลุ่มวางตัวแนวรัศมีตั้งฉากกับรูม่านตา  ถ้ากล้ามเนื้อกลุ่มนี้หดตัวแล้วรูม่านตาจะขยายขนาดขึ้น  และกล้ามเนื้องวางตัวขนานกับเส้นรอบวงขอบรูม่านตา พอหดตัวจะทำให้รูม่านตาหดเล็กลง

และเมื่อทั้งสองส่วน รูม่านตา (pupil) และ ม่านตา (iris)  ทำหน้าที่ร่วมกันจะเกิดเป็นกระบวนการตอบสนอง โดยที่รูม่านตาจะหดตัวเมื่อเจอแสงเพื่อลดหรือควบคุมปริมาณแสงที่มากเกินไป และรูม่านตาจะขยายตัวเมื่อแสงน้อย เพื่อเปิดรับแสงมากขึ้นนั่นเองค่ะ

 

ฉะนั้น ในการตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อย หรือห้องมืด  จึงเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจวัดสายตา เนื่องจากเราต้องการให้รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่แท้จริงของบุคคลนั้น และสามารถตรวจวัดสายตาได้อย่างละเอียด มีประสิทธิภาพค่ะ

แต่ถ้าหากเราตรวจวัดสายตาในสภาวะที่มีแสง รูม่านตาจะไม่เกิดการขยาย ทำให้ในช่วงที่ตรวจค่าสายตา คนไข้จะเกิดการเพ่งโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ จะส่งผลให้ค่าสายตาคลาดเคลื่อนไปจากค่าสายตาที่แท้จริง อาจทำให้การแก้ไขปัญหาสายตามีประสิทธิภาพลดลงค่ะ 

 

การตรวจสายตาตอนที่รูม่านตาขยายโดยนักทัศนมาตร เราจะได้ทราบอะไรบ้าง 
 

ทดสอบการมองเห็น  เพื่อตรวจสอบความสามารถในการมองเห็นภาพ ว่าท่านมองเห็นภาพหรือวัตถุในแต่ละระยะมีความชัดเจนหรือเบลอ ภาพไม่ชัดเจน และประเมินค่าสายตาของท่าน เพื่อทำการแก้ไขและรักษาโดยการสวมแว่นตาที่มีค่าสายตาที่เหมาะสมกับบุคคล 

ทดสอบลานสายตา  เพื่อตรวจสอบการมองเห็นทัศนียภาพด้านข้าง ว่าท่านสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านข้างของการมองเห็นได้ดีเพียงใดโดยไม่ขยับตา

ทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อตา  เพื่อตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อรอบๆ ลูกตา โดยจะเคลื่อนย้ายวัตถุไปรอบ ๆ และให้ท่านมองด้วยตา

ทดสอบการตอบสนองของรูม่านตา  เพื่อตรวจสอบว่าแสงเข้าสู่ดวงตาของท่านอย่างไร โดยนักทัศนมาตรประจำร้านจะส่องไฟฉายขนาดเล็กเข้าไปในดวงตาของคุณและตรวจดูว่ารูม่านตาของคุณตอบสนองต่อแสง

 

 

💙💙 เกร็ดความรู้เสริม 💙💙
 
 

🔬 Slit Lamp 🔬


นอกจากการตรวจวัดค่าสายตา ร้านมุลเลอร์ ออพติก มีเครื่องมือ Slit Lamp ในตรวจเช็คโรคตาส่วนหน้าเบื้องต้นโดยนักทัศนมาตร 

 

Slit Lamp เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่สามารถส่องเห็นทั้งภายนอกและภายในดวงตาแบบภาพ 3 มิติ


การตรวจเช็ค ท่านจะทราบอะไรบ้าง 

🔷 ผิวหนังรอบดวงตา ตรวจดูว่ามีรอยแผลหรือรอยโรคต่างๆ หรือไม่

🔷 เปลือกตาและขนตา ตรวจดูโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นที่บริเวณนี้ได้ เช่น โรคกุ้งยิง โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบ 

🔷 สภาพผิวของดวงตา ตาแห้ง

🔷 ตาขาว ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ ภายในลูกตา ส่วนบริเวณตาขาวชั้นตื้นๆ ที่เรียกว่า episclera จะเป็นบริเวณที่มีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มคัน

🔷 กระจกตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีผลต่อการมองเห็น การตรวจด้วยเครื่อง Slit lamp จะทำให้เห็นว่ากระจกตาใสเป็นปกติดีหรือไม่

🔷 เลนส์แก้วตา ที่อยู่ถัดจากบริเวณหลังม่านตา เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงตามอายุจะทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้

 

 

ท่านสามารถตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยหรือห้องมืดที่ได้มาตรฐาน และตรวจเช็คโรคตาส่วนหน้าเบื้องต้นโดยนักทัศนมาตร กับเครื่อง Slit Lamp ได้ที่มุลเลอร์ ออพติก สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น. ค่ะ 

สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล  หรือ Tell : 063-114-6333


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "สายตาสั้น"
17 ส.ค. 2567

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "สายตาสั้น"

ท่านอาจจะเคยได้ยินกันผ่านหูมาบ้างว่า สายตาสั้นไม่ได้ทำให้ตาบอดได้ ถ้าไม่ใส่แว่นตลอดจะทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้น หรือถ้าอายุมากขึ้นสายตาสั้นจะลดลง ในส่วนของเกร็ดความรู้เรื่องนี้จะมาอธิบายว่าที่เราเคยได้ยินมา เราเข้าถูกแล้วหรือเรากำลังเข้าใจผิดอยู่ค่ะถ้าหากไม่สวมแว่นตาตลอดเวลาจะทำให้สายตาสั้นลงเรื่องนี้ไม่ได้จริงเสมอไปค่ะ เพราะจะเกิดขึ้นแค่กับเด็ก เนื่องจากเป็นวัยที่ดวงตายังอยู่ในช่วยเจริญเติบโต สำหรับ
ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา
14 มี.ค. 2567

ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา

ในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยและยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง   หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ฝุ่น PM 10 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว่า
เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน
13 เม.ย. 2566

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน

     ในบางครั้งที่เราอาจเกิดความลังเลในการเลือกกรอบแว่นตา แบบนี้เหมาะกับเราไหม ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม แบบมีแป้นจมูกหรือไม่มีแป้นจมูก หากเราเลือกกรอบแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน อีกทั้งเหมาะสมกับใบหน้าและบุคลิกภาพก็จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง เสมือนการสวมใส่เครื่องประดับ             โดยส่วนใหญ่และผู้สวมใส่แว่นตาอาจจะให้ความสำคัญกับแฟชั่นมากกว่