• Home
  • Lens&knowledge
  • เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน
เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน

13 เม.ย. 2566   ผู้เข้าชม 301

     ในบางครั้งที่เราอาจเกิดความลังเลในการเลือกกรอบแว่นตา แบบนี้เหมาะกับเราไหม ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม แบบมีแป้นจมูกหรือไม่มีแป้นจมูก หากเราเลือกกรอบแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน อีกทั้งเหมาะสมกับใบหน้าและบุคลิกภาพก็จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง เสมือนการสวมใส่เครื่องประดับ 

 

         โดยส่วนใหญ่และผู้สวมใส่แว่นตาอาจจะให้ความสำคัญกับแฟชั่นมากกว่าการใช้งาน แต่ท่านทราบหรือไม่ กรอบแว่นบางชนิดจำเป็นที่จะต้องใช้เลนส์สายตาที่เหมาะสม หรือในอีกทางกลับกัน เลนส์สายตาบางชนิดก็จำเป็นที่ตะต้องเลือกใช้กรอบแว่นที่เหมาะสมเช่นกัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของจุดโฟกัส แล้วเราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ??  ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกรอบแว่นเบื้องต้น

 แว่นสายตาประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลักๆ ได้แก่

     1.) หน้าแว่น หรือความกว้างของกรอบแว่นตา
     2.) สะพานจมูก หรือความกว้างสะพานจมูก (Bridge)
     3.) ขาแว่น หรือความยาวของขาแว่น

โดยทั้งสามส่วนประกอบแว่นนี้ช่วยให้เราเลือกแว่นที่เหมาะสมกับเราได้ง่ายขึ้น เมื่อได้ทดลองสวมในแต่ละขนาดแล้วท่านจะพบว่ากรอบแว่นตาขนาดหน้ากว้างเท่าไหร่ ความยาวขาเท่าไหร่ที่ท่านสวมใส่แล้วกระชับกับใบหน้า โดยที่สวมแล้วแว่นไม่หลวมหรือสวมแล้วแว่นตกจนเกินไป หรือแม้แต่สวมใส่แล้วไม่บีบแน่นหรือกดใบหน้าเกินไป ซึ่งขนาดของกรอบแว่นที่พอดีจะทำให้ท่านสามารถสวมใส่แว่นโดยไร้ความกังวล

 

 

"การสวมใส่แว่นตาที่กระชับ พอดีกับใบหน้า จะช่วยให้การใช้งานและการแก้ไขปัญหาค่าสายตามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"

 

      ในเรื่องของความกว้างของกรอบที่มีขนาดใหญ่และมีช่วงสะพานจมูกที่กว้าง อาจจะไม่เหมาะสมกับท่านที่ทำเลนส์สายตาที่มีระยะห่างระหว่างตา 2 ข้างที่แคบ เพราะจะได้พื้นที่ในการมองเห็นที่แคบไปด้วย เนื่องจากพื้นที่หัวตาจะมีส่วนในการใช้งานที่น้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้แว่นตาลดลง อาจเกิดอาการไม่สบายตา เนื่องมาจากมีการเสียสมดุลของกรอบแว่น ทำให้จุดโฟกัสของเลนส์เกิดการผิดตำแหน่งไปด้วยได้ (ฟาติมะห์ พิมพ์ดา, มปป.)


( รูปภาพ April Eyewear : https://www.aprileyewearth.com )

      ในส่วนของข้อสงสัยในเรื่องที่ควรสวมแบบมีแป้นจมูกหรือแบบที่ไม่มีแป้นจมูกดี >> ความจริงแล้วแป้นจมูกเป็นส่วนสำคัญของกรอบแว่น เนื่องจากเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งตัวกรอบแว่นและตัวเลนส์สายตา ทั้งนี้ความเหมาะสมอาจขึ้นอยู่กับความสบายของผู้สวมใส่ หรืออาจขึ้นกับชนิดของเลนส์ โดยเฉพาะเลนส์ที่มีความเฉพาะบุคคล เช่นเลนส์โปรเกรสซีฟและออฟฟิศเลนส์ โดยที่เลนส์ทั้งสองชนิดนี้จะมีค่าค่อนข้างจำกัดโดยที่จะวัดระยะห่างระหว่างหลังเลนส์กับตาผู้สวมใส่ หากผู้สวมใส่เลือกกรอบที่ไม่มีแป้นจมูก อาจทำให้ระยะห่างระหว่างหลังเลนส์กับตาน้อยกว่าค่าที่กำหนด แว่นอาจชิดใบหน้าเกินไป ส่งผลให้การเหลือบมองไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

บทความโดย ดลยา ปรีชาภัทรกุล

  13 เมษายน 2566          


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔
05 ส.ค. 2566

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

ในกระบวนการตรวจวัดสายตานั้น จุดสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าสายตา นั้นคือ ... การตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อยหรือในห้องมืด   แล้วทำไมจึงต้องตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยกันล่ะ ??   👀 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอวัยวะดวงตาเบื้องต้นก่อน 👀 ดวงตาของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม ที่มีเปลือกตาและลูกตาขาวและลูกตาดำ ภายในลูกตาดำนั้นจะเป็นส่วนของม่านตา (iris) และมีรูม่าน
นักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา (Optometrist)
09 ก.พ. 2568

นักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา (Optometrist)

นักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา (Optometry) คือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสายตาและระบบการมองเห็นของมนุษย์มีความเชี่ยวชาญในการตรวจวัดสายตา และสุขภาพตาเบื้องต้น พร้อมให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสายตารักษาเกี่ยวกับปัญหาด้านสายตาและความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาโดยใช้อุปกรณ์ เช่น แว่นตา คอนแทคเลนส์ และปริซึม ในการแก้ไขปัญหาสายตา ไม่รวมถึงการรักษาโดยการจ่ายยา และการผ่าตัดค่ะในประเทศไทยเป็นหลักสูตรป
ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก
13 มี.ค. 2566

ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก

  ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก ปัจจัยทางกรรมพันธ์ุ  จากงานวิจัย พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีผู้ปกครองสายตาสั้น ทั้งพ่อและแม่ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นถึงร้อยละ 40  แต่หากพ่อหรือแม่ของเด็กมีภาวะสายตาสั้น จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 20 และหากพ่อและแม่ที่ไม่มีภาวะสายตาสั้น อาจส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 10 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม จากการศึกษ