• Home
  • Lens&knowledge
  • สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม ❓
สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม ❓

สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม ❓

19 มิ.ย. 2567   ผู้เข้าชม 17

เรามักเห็นผู้สูงอายุสวมใส่แว่นตากันเป็นส่วนใหญ่ เราเคยคิดไหมว่าหากเราอายุเพิ่มขึึ้น จากที่เราไม่เคยสวมใส่แว่นตา เราจะต้องสวมใส่แว่นตาไหม และตอนอายุเท่าไหร่ มาหาคำตอบกันค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ "สายตายาว" กันก่อนค่ะ

สายตายาว (Hyperopia) เป็นภาวะผิดปกติทางสายตาที่เกิดจากกระจกตาแบนเกินไปหรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา การรวมแสงจึงตกหลังจอประสาทตา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน (โรงพยาบาลกรุงเทพ, มปป)

🧬 สายตายาวมีทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด และสามารถเกิดขึ้นตามอายุ 🧬

สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness) หรือ Hyperopia มักจะพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีสายตายาวอยู่ก่อนแล้วอาจจะเกิดภาวะสายตายาวตามอายุหรือสายตาสูงอายุเร็วขึ้น
มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก และมักจะเป็นโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่กล้ามเนื้อตามีความยืดหยุ่นได้ดี ทำให้มีส่วนช่วยในการเพ่งสายตา จึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อภาพที่เห็นมากนัก แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น กล้ามเนื้อตาค่อยๆเสื่อมลง ทำให้อาการสายตายาวโดยกำเนิด
(สมิติเวช, 26 มีนาคม 2567)

สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) มักจะเกิดในท่านที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไปหรือเรียกว่า สายตาผู้สูงอายุ

เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามวัย อ่อนล้าลง
ทำให้เลนส์แก้วตาไม่สามารถปรับตัวให้พองขึ้นหรือแบนลงเพื่อช่วยในการโฟกัสภาพได้เหมือนเดิมจึงไม่สามารถมองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน

✨ ลักษณะอาการโดยทั่วไปของสายตายาว ✨

📌 ไม่สามารถอ่านตัวอักษรขนาดเล็กหรือมองวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ ต้องเพ่งมอง หรือถอยระยะหนังหสือหรือวัตถุออกจากตัว

📌 ปวดศีรษะ ปวดตา ไม่สบายตา มีอาการตาล้าจากการที่เราเพ่งอ่านหนังสือที่ใกล้ ต้องหรี่ตามอง

📌 ในที่แสงน้อยมองไม่ชัด ต้องปรับแสงให้สว่างขึ้น เพื่อจะได้อ่านตัวอักษรหรือมองเห็นได้ชัดขึ้น


🌈 คำแนะนำการรักษาภาวะสายตายาวโดยการสวมใส่แว่นตา 🌈

  1. ตรวจเช็คสุขภาพตาและค่าสายตากับจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเป็นประจำ

  2. สวมใส่แว่นมองใกล้ที่ตรงกับค่าสายตาท่านในขณะนั้น

  3. สวมใส่แว่นที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ

  4. สวมใส่แว่นตาที่มีเลนส์สองชั้น (Bifocals) ซึ่งจะมีเลนส์ 2 ชนิดในตัวเดียว คือ เลนส์ด้านบนสำหรับการมองไกลทั่วไป และเลนส์ด้านล่างสำหรับมองใกล้ อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์

  5. สวมใส่แว่นโปรเกรสซีฟ (Progressive lens) ซึ่งจะเหมาะกับท่านที่มีภาวะสายตาสั้นและสายตายาว หรือท่านที่ไม่สะดวกสลับแว่น 2 ตัว โดยแว่นโปรเกรสซีฟจะเป็นเลนส์ที่มีหลายระยะไร้รอยต่อ มีค่ากำลังสายตาบนเลนส์ต่างกันไปในแต่ละจุด และการทอนค่าสายตาเฉพาะบุคคลทั้งวงเลนส์ ทำให้สามารถสวมได้ตลอดเวลา และทำกิจกรรมต่างๆในประจำวันได้อย่างธรรมชาติ

สายตายาวเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว ในบางท่านอาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด หรือในบางท่านอาจเกิดเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัย 40 ปีขึ้นไป ในบางท่านเกิดขึ้นในช่วงอายุก่อนวัย 40 ปี ก็สามารถรักษาด้วยการสวมใส่แว่นที่ช่วยลดอาการเพ่ง หรืออาการเมื่อยล้าก่อนได้ ส่วนในท่านที่วัย 40 ปีขึ้นไป สามารถเลือกสวมใส่แว่นเฉพาะมองใกล้ หรือแว่น 2 ระยะ หรือแว่นหลายระยะอย่างโปรเกรสซีฟได้ เพื่อถนอมดวงตาและจะช่วยลดอาการปวดตา ปวดศรีษะเจ้า

นอกจากนี้ ให้ท่านสังเกตุพฤติกรรมของท่านเองว่าเริ่มมีลักษณะอาการดังที่กล่าวไปเบื้องต้น และเช็คสุขภาพตาและค่าสายตาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ
สวมใส่แว่นที่มีค่าสายตาที่ตรงกับท่านในขณะนั้นเพื่อเป็นการรักษาและยืดระยะเวลาการใช้งานของดวงตาเจ้า

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

ปรึกษา และตรวจวัดสายตากับนักทัศนมาตรโดยไม่มีค่าบริการได้ที่ มุลเลอร์ ออพติก
สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ และสาขาห้างโฮมโปรสันทรายค่ะ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น.

สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล  หรือ Tell : 063-114-6333


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔
05 ส.ค. 2566

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

ในกระบวนการตรวจวัดสายตานั้น จุดสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าสายตา นั้นคือ ... การตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อยหรือในห้องมืด   แล้วทำไมจึงต้องตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยกันล่ะ ??   👀 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอวัยวะดวงตาเบื้องต้นก่อน 👀 ดวงตาของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม ที่มีเปลือกตาและลูกตาขาวและลูกตาดำ ภายในลูกตาดำนั้นจะเป็นส่วนของม่านตา (iris) และมีรูม่าน
มาทำความรู้จักกับสายตาเอียงกัน 🧐
08 ก.พ. 2567

มาทำความรู้จักกับสายตาเอียงกัน 🧐

 บางท่านอาจยังสงสัยว่าตัวเองมีภาวะสายตาเอียงหรือไม่  มาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ     ภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)  คือ ความคลาดเคลื่อนของการหักเหของแสงประเภทหนึ่ง โดยรูปร่างของพื้นผิวโค้งตามปกติของกระจกตาจะโค้งงอเป็นองศาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ความผิดปกติของความโค้งของกระจกตา คนปกติกระจกตาจะโค้งเป็นทรงกลมแบบสมบูรณ์ทำให้แสงที่ตกกระทบเข้าดวงตาถูกรวมกันในจุดโฟกัสเดียวที่จอ
รวมพลัง หมอสายตา&ช่างแว่น
15 ก.ย. 2565

รวมพลัง หมอสายตา&ช่างแว่น

Muller knowledge วันนี้นำเสนอบทความเรื่อง “รวมพลัง หมอสายตา&ช่างแว่น” ในสภาวะปัจจุบัน การตัดแว่นกับ “ พนักงานขาย ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เพราะ หลายท่านคงตระหนักดีอยู่แล้วว่า แว่นตา หรือ สายตา ไม่ได้เป็นเรื่องของสินค้า แฟชั่น แต่เป็นเรื่องโดยตรงเกี่ยวกับสุขภาพและการมองเห็น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมองของมนุษย์ ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่?? หากเราเลือกใช้บริการร้านแว่นกึ่งคลินิกที่เป็นก