• Home
  • Lens&knowledge
  • วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว
วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว

วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว

15 พ.ค. 2566   ผู้เข้าชม 293

  สำหรับท่านที่ใส่โปรเกรสซีฟครั้งแรก

ทางร้านมีวิธีการปรับตัวและทริกดีๆในการใช้งานโปรเกรสซีฟเบื้องต้น

 

 

1. ทริกสำหรับการใช้งานในระยะไกล

   ทดลองการใช้งานของแว่นในระยะไกล เช่น ระยะการขับรถ  อ่านป้ายจราจรต่างๆ    

      - เมื่อลองแว่นโปรเกรสซีฟ ครั้งแรก ไม่ควรหันหน้าส่ายไปมาอย่างรวดเร็ว ให้ค่อยๆ หันหน้าเมื่อต้องการมอง หากส่ายหน้าเร็ว จะทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้

      - หากเน้นมองไกล ในการขับรถ แนะนำให้เขยิบแว่นให้ออกห่างตา เพื่อให้ตาเราอยู่ในโซนมองไกลของแว่น 

      - หากต้องการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ควรมองด้วยหางตา จะเห็นภาพไม่ชัด ในจุดบิดเบือนด้านข้าง ทำให้เกิดอาการเวียนหัว แต่เน้นใช้การหันทั้งหน้าจะดีกว่า

      - ไม่ควรแหงนหน้า หรือเงยหน้าขณะมองระยะไกล เราจะมองผ่านโซนมองกลางและมองใกล้ ทำให้ภาพไม่ชัด และอาจจะปวดหัวได้

      - เมื่อต้องการมองเท้าตนเอง ให้ย่อเข้าลงให้หน้าเราอยู่ใกล้เท้าก่อนแล้วค่อยมอง หรือ หากสายตาไม่มากให้ถอดแว่นมองได้ เพราะหากยืนแล้วมองเท้า อาจจะให้เกิดภาพที่เป็นหลุม และเวียนหัวได้

       - เมื่อได้ลองสวมแว่นโปรเกรสซีฟตัวแรก ไม่ควรในการสวมเข้าสวมออก ควรใส่ตลอดซักระยะ เพื่อให้สมองจดจำอิริยาบถ ท่าทางต่างๆ ในการมองสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หากเวียนหัวก็ให้ลองปรับตัวและฝึกมองให้ภาพชัด สมองจะเรียนรู้และเกิดทักษะ รู้อิริยาบถในการมองสิ่งต่างๆ และจะทำให้ใส่โปรเกรสซีฟได้สบายมากขึ้น ท่าทางเป็นธรรมชาติ

       - หากต้องขึ้นบันได ให้ค่อยๆขึ้น โดยการมองไ่ปที่มุม 45 องศา หรือมองด้านหน้าแทนการมองเท้าตัวเอง เพราะหากยืนอยู่แล้วก้มมองเท้า อาจจะคำนวณระยะไม่ถูก  เวียนหัว และตกบันไดได้

       - ในเคสสายตาสั้น โปรเกรสซีฟตัวเดียวอาจไม่เหมาะสำหรับขับรถในเวลากลางคืนเสมอไป ควรมีแว่นชั้นเดียวที่ช่วยในการขับรถตอนกลางคืนเป็นเวลานาน

 

2. ทริกสำหรับการใช้งานในระยะกลางและใกล้

    ทดลองการใช้งานของแว่นในระยะกลางและใกล้  เช่น ระยะกลาง ระยะการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ระยะใกล้ ในระยะสำหรับการอ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์มือถือ
 

        - หากเน้นมองในระยะกลางและใกล้ เช่น นั่งทำงานที่โต๊ะ มีเอกสาร มีคอมพิวเตอร์  ให้กดแว่นให้ติดตาเลย เราจะสามารถเหลือบมองระยะใกล้ และกลางได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแหงนหน้า

        - เมื่อเรามองสิ่งใดอยู่แล้วไม่ชัด อย่าฝืนเพ่งมอง แต่ให้ลองแหงนหน้าขึ้น หรือเงยหน้าลงเพื่อมอง เราจะเจอจุดที่ชัดที่สุดเอง หากฝืนตั้งแต่แรกจะทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา

        - ในการมองเอกสาร โทรศัพท์ หรือระยะใกล้ ไม่ควรเขยิบวัตถุกับใบหน้าพร้อมกัน ให้ถือวัตถุเฉยๆ ในตำแหน่งที่เราถนัด แล้วให้แหงนหน้า หรือเงยหน้าลงเพื่อมองวัตถุ

 

 

 

 𝙕𝙚𝙞𝙨𝙨 𝙋𝙧𝙤𝙜𝙧𝙚𝙨𝙨𝙞𝙫𝙚 𝙋𝙧𝙚𝙘𝙞𝙨𝙞𝙤𝙣 𝙥𝙡𝙪𝙨 𝘼𝙨𝙞𝙖𝙣𝙖 🇩🇪
ช่วยในการปรับตัว และเหลือบมองได้ง่ายขึ้น

ค่าสายตาที่จ่ายจริง
𝙍 +𝟮.𝟳𝟱 -𝟭.𝟱𝟬 𝙭𝟴𝟲
𝙇 +𝟯.𝟬𝟬 -𝟭.𝟱𝟬 𝙭𝟵𝟮
𝘼𝙙𝙙 𝟮.𝟱𝟬

เทคโนโลยี 𝗔𝗱𝗮𝗽𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗖𝗼𝗻𝘁𝗿𝗼𝗹™ 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปรับตัว ทำให้ผู้สวมใส่ปรับตัวกับแว่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และ 𝗙𝗿𝗮𝗺𝗲𝗙𝗶𝘁®+ 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 ที่ทำให้เราออกแบบได้ว่า กรอบแว่นที่พี่ภูวนาถเลือกนั้น ควรใช้ระยะเหลือบที่เท่าไร ถึงจะทำให้ภาพไม่บิดเบือนจนเดินไปเจ้า

 

 

Silhouete X ZEISS Progressive Precision Plus Asiana 1.60 PhotoFusion Grey

 

OAKLEY X Essilor PAL Varilux X Series X3D 1.50 Crizal Rock Transition Brown


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!
18 ม.ค. 2567

ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!

การเพ่งมองจะส่งผลร้ายแรงมากแค่ไหน มาหาคำตอบกัน !!   ในปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวัน หลายๆท่านที่กำลังเรียน หรือทำงาน ต้องจดจ่อกับหน้าจออิเลคโทนิค การอ่านหนังสือ ขับรถ หรือแม้แต่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน  เรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลย นั่นก็คือ อาการตาล้า ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งท่านอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเพ่งมองอยู่    อาการตาล้า อาจเนื่องมาจากการเพ่งมองม
สายตาสั้นอยู่ แต่ไม่อยากสวมแว่น สายตาจะสั้นขึ้นจริงหรือ!!
20 พ.ย. 2566

สายตาสั้นอยู่ แต่ไม่อยากสวมแว่น สายตาจะสั้นขึ้นจริงหรือ!!

"การสวมใส่แว่นตา เป็นการช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ณ ขณะนั้น"   อันดับแรก มาทำความรู้จักกับอาการสายตาสั้นอย่างเบื้องต้นกันค่ะ อาการสายตาสั้นคือภาวะหนึ่งที่มีความผิดปกติของอวัยวะดวงตา โดยการที่เมื่อมองวัตถุจะภาพหรือลำแสงจะไปรวมกันและตกกระทบในบริเวณก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้ลำแสงที่ไปถึงจอประสาทตาจะบานออก ไม่เป็นจุดเดียว จึงทำให้เห็นภาพไม่ชัด และนอกจากนี้ สายตาสั้นอาจมีสาเหตุมาจาก การที่กระจกตามีควา
ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก
13 มี.ค. 2566

ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก

  ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก ปัจจัยทางกรรมพันธ์ุ  จากงานวิจัย พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีผู้ปกครองสายตาสั้น ทั้งพ่อและแม่ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นถึงร้อยละ 40  แต่หากพ่อหรือแม่ของเด็กมีภาวะสายตาสั้น จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 20 และหากพ่อและแม่ที่ไม่มีภาวะสายตาสั้น อาจส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 10 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม จากการศึกษ